ทำความรู้จักวิถีชีวิตตามระบบซอยของสุขุมวิทใต้ ผ่านทั้ง 12 ย่าน พร้อมสำรวจความหลากหลายและประเภท พื้นที่ของแต่ละย่าน
พื้นที่รอยต่อของเมืองที่ผสมผสานวิถีชีวิตดั้งเดิมและใหม่ ตั้งแต่ผู้อยู่อาศัยในบ้านริมน้ำ ห้องแถว อาคารพาณิชย์ บ้านจัดสรรดั้งเดิม ไปจนถึงคอนโดมิเนียม ส่วนมากเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่จับจ่ายใช้สอย ตลอดจนเป็นทางผ่านไป-มา ของถนนสุขุมวิท และ ถนนศรีนครินทร์
พื้นที่อยู่อาศัยทั้ง อาคารพาณิชย์ หอพัก บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ที่มีผู้อยู่ อาศัยตั้งแต่ดั้งเดิมและมาอาศัยอยู่ ชั่วคราว ผสมกับพื้นที่ทำงาน ที่มีทั้ง อาคารสำนักงาน โฮมออฟฟิศ และสตูดิโอ
พื้นที่ชุมชนดั้งเดิมรอบวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ที่อยู่ใจกลางการพัฒนาจาก ถนนสุขุมวิทและถนนศรีนครินทร์ ส่วนมากผู้อาศัยจะอยู่ในบ้านจัดสรร แบบดั้งเดิม ห้องแถว อาคารพาณิชย์ และห้องเช่ามีพื้นที่วัดวชิรธรรมสาธิต-วรวิหาร เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิต และ เป็นพื้นที่ที่ถูกขนาบด้วย 2 แนวคลอง คือคลองบ้านหลายและคลองเคล็ด
พื้นที่ที่มีแปลงที่ดินขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่ราชการดั้งเดิม และกำลังอยู่ในระหว่าง การพัฒนาศูนย์ราชการ ที่มีลักษณะเป็น พื้นที่เฉพาะบ้างก็ล้อมรั้วสูง บ้างก็เข้าถึง ได้ยาก เป็นแปลงที่ดินขนาดใหญ่ที่ ปัจจุบันค่อนข้างผสมกับอาคารพาณิชย์ ที่มีการค้าแบบดั้งเดิมเรียงรายอยู่ตาม แนวถนน นอกจากนี้ยังมีท่าเรือที่ สามารถข้ามไปยังบางกระเจ้า
พื้นที่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่มี การเปลี่ยนผ่านเป็นพื้นที่อยู่อาศัยบาง ส่วน ในพื้นที่มีผู้คนที่มีวิถีชีวิตที่หลาก หลาย ตั้งแต่ผู้อยู่อาศัยริมทางรถไฟ สายเก่า ห้องแถว บ้านเช่า บ้านจัดสรร ดั้งเดิม และคอนโดมิเนียม อยู่ผสมกับ พื้นที่โรงงานและโกดังเก่าที่ยังมีการ ใช้งานอยู่บ้างในบางส่วน
พื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ทำงานโรงงานในอดีต แต่ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ ที่อยู่อาศัยของคนกลุ่ม 1st jobber และผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง ที่เข้ามา อยู่อาศัยจากความสะดวกสบายในการ เดินทางและราคายังสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีการพัฒนา อาคารสำนักงานขนาดใหญ่จำนวนมาก รวมถึงพื้นที่กลางในการใช้ชีวิต
พื้นที่อยู่อาศัยทั้ง อาคารพาณิชย์ หอพัก บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียมที่มีผู้อยู่ อาศัยตั้งแต่ดั้งเดิม ผสมกับพื้นที่ทำงาน อย่างโฮมออฟฟิศและสตูดิโอ เป็นพื้นที่ ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาจากการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง นอกจากนี้ยัง เชื่อมต่อกับพื้นที่สีเขียวสาธารณะอย่าง สวนสาธารณะบึงหนองบอน
พื้นที่ทางผ่านของย่านที่มีพลวัตสูง ที่ตัดแบ่งด้วยถนนที่มีหลายช่องทาง การจราจรและโครงสร้างทางด่วนขนาดใหญ่ แต่สองฝั่งของถนนเต็มไปด้วย พื้นที่อยู่อาศัย ผสมผสานอยู่กับพื้นที่ ทำงานรวมถึงยังมีพื้นที่จัดแสดงขนาด ใหญ่อย่างศูนย์นิทรรศการและการ ประชุมไบเทค
พื้นที่อุตสาหกรรมและพื้นที่ล้อมรั้ว ขนาดใหญ่ที่อยู่มาแต่ดั้งเดิม เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โกดังท่าเรือ คลังสินค้า ที่ส่งผลให้ในพื้นที่มีกิจกรรมจำกัด ชุมชนต้องอยู่อาศัยร่วมกับพื้นที่ล้อมรั้วขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นชุมชนที่อยู่ อาศัยหนาแน่น หอพัก บ้านพัก แฟลต ข้าราชการรวมถึงชุมชนริมทางรถไฟ สายเก่า
พื้นที่ผสมผสานการของพื้นที่ชานเมือง เก่าที่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม โกดัง อู่ ซ่อมรถ และมีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว มีบริเวณ ห้องเช่า บ้านพักข้าราชการ กับพื้นที่การพัฒนาใหม่อย่างคอนโด โฮมออฟฟิศ และโรงเรียนนานาชาติ
พื้นที่ผสมผสานระหว่างพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรมที่มีความหลาก หลายสูง มีอาคารและการค้ารูปแบบใหม่ ผสมกับอาคารห้องแถวเก่า นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรสำคัญของย่าน ส่วนมากเป็นรถโดยสาร สาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า รถเมลล์ รถตู้ แท็กซี่ สองแถว และจักรยานยนต์รับ จ้างส่งผลให้เป็นพื้นที่ที่มีพลวัตสูงตลอดทั้งวัน
พื้นที่รอยต่อของกรุงเทพมหานครและ สมุทรปราการ ที่มีการเปลี่ยนผ่านจาก พื้นที่อยู่อาศัยที่ส่วนมากเป็นแบบ ชั่วคราว มาเป็นที่ลงหลักปักฐานมากขึ้น ส่วนมากจะเป็นผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรร ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ อาคาร พาณิชย์และคอนโดมิเนียม เป็นพื้นที่ up and coming ของการอยู่อาศัย การทำงานแ และการใช้ชีวิตในพื้นที่ย่าน
South Sukhumvit (สุขุมวิทใต้) ครอบคลุมพื้นที่แกนตั้งตลอดแนวถนนสุขุมวิท ตั้งแต่สถานี BTS อ่อนนุช จรดสถานี BTS บางนา และแผ่ออกไปทางตะวันตกจบที่ขอบแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนตะวันตกแผ่ไปจนถึงแนวถนนศรีนครินทร์ นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพรียบพร้อมไปด้วยชุมชน และเครือข่ายท้องถิ่นที่แข็งแรง
จากการวิเคราะห์ ดัชนีเศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง พบว่าย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจรองแห่งใหม่ (New-Sub-CBDs) ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ย่านสะพานใหม่ รามอินทรา มีนบุรี ปิ่นเกล้า พระรามที่ 2 และพระโขนง-บางนา
หนึ่งในย่านที่มีการกระจุกตัวของกลุ่มเศรษฐกิจใหม่อย่างมีนัยยะสําคัญโดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจ TAMI ซึ่งคือกลุ่มเศรษฐกิจประเภท เทคโนโลยี (Technology) การโฆษณา(Advertising) มีเดีย/สื่อ (Media) และข้อมูลข่าวสาร (Information)
จากการวิเคราะห์ ดัชนีความสะดวกสบายในการอยู่ - อาศัย (Living Score) พบว่า ย่านพระโขนง - บางนา มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงถึง 72 คะแนนเต็ม 100
จากการวิเคราะห์ ดัชนีการเข้าถึงระบบคมนาคม ขนส่ง (Transit Score) พบว่าย่านพระโขนง - บางนา มีระดับ การเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่ง เฉลี่ยถึง 65 คะแนน เต็ม 100
ย่านพระโขนง - บางนา สามารถเข้าถึงได้จาก คมนาคมทุกระบบ แต่เดินได้เพียงรอบพื้นที่สถานี รถไฟฟ้าและ ปากซอย จากลักษณะของพื้นที่ที่เป็น ซอยลึกและตัน ซึ่งมีสัดส่วนพื้นที่เดินได้เพียง 8% จากพื้นที่ทั้งหมด
พระโขนง - บางนาเป็นย่านซอยลึกและซอยตัน ที่ทําให้การจราจรติดขัด และเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่น ได้ยาก จากการวิเคราะห์ ข้อมูลซอยตัน พบว่า ย่านพระโขนง - บางนามีสัดส่วนถนนที่เป็นซอยตัน กว่า 50%
ย่านที่เข้าถึงได้จากทุกขนส่งมวลชนหลัก แต่ขาดขนส่งมวลชนรองที่จะไปต่อในย่าน ผู้คนต้องอาศัยรถจักรยานยนต์รับจ้างและรถสอง แถวที่ทําหน้าที่เป็นระบบขนส่งรองเสมือน “Pseudo-feeder System”
ด้วยปริมาณรถยนต์ที่สัญจรผ่านประมาณ 7 แสน คันต่อวัน ผนวกกับโครงข่ายถนนที่เป็นซอยลึก และตัน ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดทั่วย่าน โดยเฉพาะ บริเวณทางแยกที่เชื่อมต่อกับทางด่วน และซอยหลัก
ย่านที่มีแอ่งกระทะ น้ําท่วมขัง ระบายน้ํายาก โดยเฉพาะ บริเวณรอบสถานีปุณณวิถีและ ซอยสุขุมวิท 101/1 ที่อยู่ต่ํากว่าระดับน้ําทะเล ปานกลาง
ย่านพระโขนง - บางนา มีพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากร ในย่านน้อยกว่ามาตรฐาน WHO ที่ 9.0 ตร.ม./คน
เขตพระโขนง อยู่ที่ 3.4 ตร.ม./คน เขตบางนา อยู่ที่ 5.0 ตร.ม./คน [นับรวมพื้นที่สวนธารณะ 7 ประเภทของ กทม.]
จากรายงานแผนพัฒนาชุมชนเขตพระโขนง-บางนา พบว่า มีชุมชนกว่า 80% ได้รับผลกระทบและมี ข้อห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ (การจัดเก็บ) อากาศ ฝุ่น (รถบรรทุก โรงกลั่น)
แม้จะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ สามารถเข้าถึงง่ายด้วย ระบบขนส่งสาธารณะหลัก และถูกจัดเป็น 1 ใน 5 ย่านน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร แต่ก็เหมือนกับ พื้นที่อื่นๆ ซึ่งก็มีข้อจำกัด และปัญหาซึ่งมีสาเหตุจาก ภูมิศาสตร์ของตัวพื้นที่เอง และปัญหาจาก การวางผังเมืองเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
แม้ย่านสุขุมวิทใต้จะยังประสบกับปัญหาด้านต่างๆ ในหลายประเด็น แต่ในพื้นที่เองมีสินทรัพย์และ โอกาสที่ซ่อนอยู่มากมายที่จะช่วยแก้ปัญหาดังเกล่าเหล่านั้นเช่นกัน การพัฒนาพื้นที่อย่างชาญฉลาดและ ถูกจุดจะช่วยพัฒนาให้ย่านนี้กลายเป็น downtown ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งผู้อยู่อาศัยทุกกลุ่ม และยกระดับสมดุลทรัพยากรในพื้นที่ให้ดีขึ้นด้วย
หนึ่งในย่านที่มีความหลากหลายของเศรษฐกิจทั้ง เศรษฐกิจดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่มานานอย่างร้านขาย ของชํา ตลาด ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอย ผสมผสานกับเศรษฐกิจใหม่ที่เข้ามาพร้อมการ พัฒนาของระบบรางอย่างธุรกิจประเภท เทคโนโลยี การโฆษณา มีเดียร์ และบริการข้อมูลข่าวสารซึ่งมี แนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในพื้นที่พระโขนง-บางนา
จากการสํารวจข้อมูลพื้นที่ดินว่างเปล่ารอการพัฒนา ในย่านพระโขนง - บางนา พบว่า มีจำนวนกว่า 380 แปลง พื้นที่รวมกว่า 4,000 ไร่ จากที่ดินขนาดใหญ่ ที่มีการใช้ประโยชน์น้อยและที่ดินขนาดกลางและขนาดเล็กที่ยังไม่มีการพัฒนา
ย่านที่มีโอกาสจากพื้นที่คูคลองจํานวนมาก ในพื้นที่พระโขนง-บางนามีคลองหลักมากกว่า 9 คลอง ซึ่งมีความยาวรวมกันกว่า 53 กิโลเมตร หนึ่งสินทรัพย์ของย่านที่สามารถพลิกฟื้นและพัฒนาสู่การเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อพื้นที่สุขภาวะสําหรับการพักผ่อนลดสภาพแวดล้อมความไม่น่าอยู่ของย่าน
แม้ว่า ย่านจะมีพื้นที่บริการทางการแพทย์อยู่บ้าง แต่หากพิจารณาประกอบกับพื้นที่ที่มีลักษณะเป็น ซอยลึกและตัน มีปัญหาการจราจรส่งผลให้เกิด ความเสี่ยงในการในการเข้ารับบริการอย่างทันท่วงที หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
ย่านที่มีสถานศึกษาหลากหลายระดับ ที่กระจายตัว อยู่ทั่วย่าน แต่ขาดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
ย่านพระโขนง - บางนา ที่มีโอกาสการพัฒนาจาก 2 สินทรัพย์ทางกายภาพที่มีมาแต่เดิม อย่างห้องแถว อาคารพาณิชย์ และโกดัง ที่ปัจจุบัน มีการใช้ ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ และกระจายตัวอยู่ ทั่วย่าน
ย่านที่มีโอกาสจากพื้นที่คูคลอง รวมกันยาวกว่า 53 กิโลเมตร สินทรัพย์แต่เดิมของย่าน ที่สามารถนํา มาใช้ เป็นพื้นที่สนับสนุนการบริหารจัดการน้ํารอ ระบาย